ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า (192 Kb) เจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อควบคุมอันตรายจากไฟฟ้าตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ การเดินสาย การป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด สายดิน สายล่อฟ้าตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปทุกประเภท สาระสำคัญของกฎหมาย1. สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องไม่ชำรุด 2. การปฏิบัติงานใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าต้องรักษาระยะห่างตามที่กำหนดเว้นแต่ 2.1 ใส่เครื่องป้องกัน 2.2 มีฉนวนหุ้ม 2.3 มีเทคนิคการปฏิบัติงาน 3. ชนิดของสายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐาน 4. มีเครื่องตัดกระแสติดตั้งไว้ ณ จุดที่มีการเปลี่ยนขนาดสายและระหว่างเครื่องวัดไฟฟ้ากับสายภายในอาคาร 5. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้สายเคเบิ้ลอ่อนและสายอ่อนต้องไม่มีรอยต่อหรือต่อแยก 6. มีการติดตั้งเต้าเสียบเพียงพอต่อการใช้งาน 7. การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแรงดัน 600 โวลท์ขึ้นไป ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 8. สวิตซ์ทุกตัวบนแผงสวิตซ์ต้องเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสะดวกในการปลด และสับ แผงสวิตซ์มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงปลดและสับได้ 9. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเปลือกเป็นโลหะ ต้องต่อสายดิน 10. มีการป้องกันฟ้าผ่าของปล่องควัน 11. การจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่มีแรงดันมากกว่า 50 โวลท์ ขึ้นไปให้ลูกจ้าง
| |
| แนวการตรวจของผู้ตรวจประเมิน1. ตรวจสอบสภาพของสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า ตรวจสอบสายไฟฟ้าที่เดินอยู่ว่าสภาพของสายไฟฟ้ายังเรียบร้อยดีอยู่หรือไม่ เช่น ฉนวนฉีกขาด สายมีรอยไหม้ สายหลุดจากที่ยึดโยง
2. การป้องกันในกรณีให้ลูกจ้างทำงานใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่าระยะห่าง ที่กฎหมายกำหนด กรณีลูกจ้างต้องทำงานใกล้ๆ สิ่งที่มีการใช้ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์หม้อแปลงลูกเล็กๆ ที่ใช้กับเครื่องจักร แผนควบคุมสวิตซ์บอร์ดขนาดใหญ่ ต้องมีการป้องกันโดยการให้ตัดกระแสไฟฟ้าก่อน หากต้องเปิดให้กระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ลูกจ้างทำงาน ก็ควรจะหาสิ่งที่เป็นฉนวน เช่น แผงไม้อัด พลาสติก รั้วมากั้นระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น กรณีที่เป็นไฟฟ้าแรงสูงต้องมีระยะห่างตามตารางที่กฎหมายกำหนดไว้ 3. ชนิดของสายไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งาน การตรวจเช็คชนิดของสายไฟในทางปฏิบัติทำได้ยาก เพราะจะต้องมีการตัดสายเพื่อตรวจสอบ ดังนั้นการตรวจจึงทำได้โดยเพียงตรวจการใช้งานให้ใช้ได้และปลอดภัย เช่น
4. มีเครื่องตัดกระแสติดตั้งไว้ ณ จุดที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
เครื่องตัดกระแสที่ติดตั้งเพื่อตัดกระแสไฟเวลาปิด-เปิดใช้งาน ตามปกติจะตัดไฟได้เองโดยอัตโนมัติ ถ้าเกิดกรณีใช้กระแสไฟฟ้าเกิดหรือเกิดไฟฟ้าซ๊อต (แต่จะไม่ตัดเมื่อกระแสไฟฟ้ารั่ว) 5. สายเคเบิ้ลอ่อนและสายอ่อน ต้องไม่มีรอยต่อหรือต่อแยก สายเคเบิ้ลอ่อนหรือสายอ่อน ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น สว่านมือไฟฟ้า พัดลมระบายอากาศ เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มแช่ ปั๊มลมเล็กๆ เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้มีการใช้งานเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีรอยต่อหรือต่อแยก อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วได้ 6. มีการติดตั้งเต้าเสียบเพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย 7. การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแรงดัน 600 โวลท์ขึ้นไปให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
8. สวิตซ์ทุกตัวบนแผนสวิตซ์ต้องเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสะดวกในการปลดและสับ 9. แผงสวิตซ์มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงปลดและสับได้ 10. เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีเปลือกหุ้มภายนอกเป็นโลหะต้องต่อสายดิน
11. สายล่อฟ้า หากตรวจพบในสถานประกอบการมีการใช้ปล่องควัน
12. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
|
บทที่1
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น